วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคและวัชพืช


โรคและการป้องกันกำจัด

      

    โรคราสนิม (Coffee leaf rust)

      เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามานานกว่าร้อยปี

ลักษณะอาการของโรค
    
       โรคราสนิมสามารถเกิดกับใบกาแฟอาราบิก้า ทั้งใบแก่และใบอ่อน ระยะต้นกล้าในเรือนเพาะชำ และต้นโตในแปลง อาการครั้งแรก จะเห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ขนาด 3 - 4 มิลลิเมตร ด้านในของใบ มักจะเกิดกับใบแก่ก่อน จุดสีเหลืองบนใบขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ สีของแผลจะ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้ม หรือส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้น บนแผลจะมีผงสีส้ม ซึ่งเป็นยูรีโดสปอร์ของเชื้อรา ด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้น ใบกาแฟอาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น กิ่งแห้งในเวลาต่อมา ต้นที่เป็น โรครุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้น

การป้องกันกำจัด

        มีสารป้องกันกำจัดเชื้อราหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพใน การป้องกันและกำจัดโรคราสนิมได้ เช่น บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (alkaline bordeaux mixture) 0.5%,คูปราวิท (cupravit) 85% W.P. อัตรา 50 กรัม น้ำ 20 ลิตร

       ใช้พันธุ์กาแฟที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7960, พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7961, พันธุ์คาร์ติมอร์ CIFC 7962 และ พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963




           โรคเน่าดำ (black rot)
       
        โรคเน่าดำของกาแฟสาเหตุจากเชื้อรา Koleroga noxia เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของกาแฟอาราบิก้า ที่ปลูกภายใต้ ร่มเงาค่อนข้างหนาทึบ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับ เกิดโรคนี้มักจะเป็นในฤดูฝน ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันโดยไม่หยุด ประกอบกับแปลงกาแฟที่มีร่มเงาค่อนข้างทึบ แดดส่องไม่ถึง ส่วนต้นกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งไม่พบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

         อาการของโรคจะแสดงออกที่ใบ กิ่ง และผล ที่กำลังพัฒนาในช่วงฝนตกซุก ในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ในระยะเริ่มแรกใบจะเน่ามีสีดำก่อน แล้วลุกลามไปยังกิ่งและผล กำลังเจริญเติบโต เมื่อใบกาแฟแห้งตาย ในปลายฝนจะมีเส้นใยของเชื้อรา เส้นใหญ่ ๆ เจริญบนผิวใบกาแฟ เส้นใยเหล่านี้จะดึงให้ใบกาแฟติดอยู่กับกิ่ง โดยไม่ร่วงหล่นจากต้น สำหรับผลกาแฟที่กำลังเจริญเติบโตมีสีเขียว ก็จะกลายเป็นสีดำและร่วง และเมื่ออากาศแห้งเห็นเส้นใยสีขาวปกคลุม ก้านผลกาแฟคล้ายใยแมงมุมสีขาว การเน่าของใบกาแฟอาจลุกลาม เข้าสู่ตรงกลางของพุ่มกาแฟ

 การป้องกันกำจัด

o ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกและเผาไฟ เพื่อทำลายแหล่ง แพร่ระบาดของเชื้อ

o ควรคัดเปลงระบบการตัดแต่งกิ่งต้นกาแฟให้ตรงกลาง พุ่มโปร่ง ลมจะได้พัดผ่านสะดวก เพื่อลด ความชื้นในทรงพุ่ม เช่น ระบบตัดแต่งกิ่งต้นเดี่ยวของประเทศ โคลัมเบียหรืออินเดีย

o ควรตัดแต่งไม้บังร่มให้โปร่งมาก ๆ ในต้นฤดูฝน

o อาจใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช พวกสารประกอบ ทองแดงฉีดพ่นเมื่อพบโรคนี้ระบาด 1 - 2 ครั้ง

       





          โรคเน่าคอดิน (Collar rot หรือ damping off)

  โรคเน่าคอดินสาเหตุจากเชื้อราRhizoctonia solani โรคนี้เกิดในระยะกล้าอายุ 1 - 3 เดือนในแปลง เพาะชำ สาเหตุของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของแปลงเพาะกล้ามีการระบายน้ำไม่สะดวก เพาะเมล็ดซ้ำใน แปลงเดิมติดต่อกันหลายครั้ง ติดต่อกันโดยไม่เปลี่ยนวัสดุใหม่ หลังคาเรือนเพาะชำอาจทึบเกินไป ปริมาณของกล้าที่งอกออกมาหนาแน่น เกินไป และประการสำคัญสภาพอากาศในช่วงที่กล้างอก มีความชื้นสูง สลับกับอากาศร้อน

ลักษณะอาการของโรค

       อาการของโรคเน่าคอดินมีอยู่ 2 ระยะคือ

       ระยะแรก การเน่าของเมล็ดก่อนงอก คัพภะ (embryo) และเอนโดสเปิร์ม (endosperm) จะถูกเชื้อราซึ่งอยู่ในดินเข้าทำลาย เมล็ดเน่าและแตกออก

        ระยะที่สอง การเน่าหลังจากกล้ากาแฟงอกออกจากเมล็ด โผล่ขึ้นมาเหนือดินแล้ว เชื้อราอาจเข้าทำลายตรงโคนที่อยู่เหนือดิน หรือระดับผิวดินจะมีแผลสีน้ำตาลในระยะแรก ต่อมาจะเน่ากลายเป็นสีดำ ในที่สุดกล้าก็เหี่ยวและตาย เชื้อรา R.solani สามารถเข้า ทำลายกล้ากาแฟได้ทุกระยะหลังจากงอกขึ้นมาเหนือดิน ตั้งแต่หัวไม้ขีด ซึ่งใบเลี้ยงคู่ยังไม่หลุดออกจากเมล็ดกาแฟ ระยะปีกผีเสื้อ ซึ่งใบเลี้ยงคู่หลุดออกจากเมล็ดเป็นปีกผีเสื้อ และระยะที่กล้ากาแฟมีใบจริง 1 - 2 คู่ ในกรณีที่ยังอยู่ในแปลงไม่ได้ย้ายลงถุง
การป้องกันกำจัด

o หน้าดิน (top soil) หรือวัสดุเพาะอื่น ๆ ควรจะเป็น ของใหม่ ไม่ควรนำของเก่ามาเพาะซ้ำ เพราะอาจมีเชื้อราสะสมอยู่ใน ปริมาณมากเกินไป

o ไม่ควรให้น้ำแปลงเพาะมากเกินไปในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจทำให้น้ำท่วมขังในแปลงได้ ระบบการ ระบายน้ำในแปลงควรจะดี

o การเพาะเมล็ดในแปลง ควรให้มีระยะห่างพอสมควร มิฉะนั้นเมื่อกล้างอกออกมาหนาแน่น จะต้องถอนทิ้งทีหลัง

o กล้าที่เป็นโรคเน่าคอดิน ควรถอนทิ้งและเผาไฟ หลังจากนั้นจึงควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ (Mancozeb)


         โรครากเน่าแห้ง (Fusarium root disease)

     โรครากเน่าแห้งสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium spp. ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามากกว่ากาแฟโรบัสต้า ทำให้ต้นตายภายในเวลาอันสั้น โรคนี้จะรุนแรงในสภาพพื้นที ่อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิของดินแตกต่างกันมาก

      ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์แปลงกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งและราก หรือโคนต้นที่อยู่ ใต้ผิวดินเกิดแผล เชื้อราก็เข้าทางแผลนั้น จากการตรวจสอบต้นที่เป็นโรครากเน่าพบว่า มีต้นกาแฟจำนวนมาก ที่มีแผลที่เกิดจาก หนอนเจาะโคนหรือควั่นโคนร่วมอยู่ด้วย

ลักษณะอาการของโรค

      ต้นกาแฟมีใบเหลืองและเหี่ยว ต่อมาใบจะร่วง กิ่งที่อยู่เหนือดินแห้งตาย เมื่อถอนต้นกาแฟจากดิน จะขึ้นมาง่ายมาก เพราะรากเน่าและแห้งตาย เมื่อปาดเปลือกของรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ใต้ดินจะมีสีน้ำตาล น้ำตาลเทา รากส่วนใหญ่จะแห้ง

 การป้องกันและกำจัดโรค

o ถอนต้นกาแฟที่เป็นโรคเน่าแห้งเผาไฟ เพื่อทำลาย แหล่งเพาะเชื้อ

o โรครากเน่าแห้งจะรุนแรงในสภาพการปลูกกาแฟ กลางแจ้งนั้น ดังนั้น ควรปลูกไม้บังร่มให้กาแฟอาราบิก้าในแหล่งที่มี โรครากเน่าแห้งระบาด

o เอกสารต่างประเทศได้แนะนำให้ใส่ปูนขาวลงไปในดิน ในกรณีพบโรครากเน่าแห้งและทดสอบ pH ของดินพบว่าต่ำกว่า 5.5

           โรคใบจุดตากบ (Brown eye spot)
  
 โรคใบจุดตากบ มีสาเหตุจากเชื้อรา Cercospora coffeicola. เป็นโรคที่พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ทั้งกับกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้า ระบาดมากในระยะกล้า ที่ปลูกในเรือนเพาะชำ ขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เมื่อนำกล้าที่ เป็นโรคนี้ไปปลูกในแปลง หากขาดการบังร่มให้แก่ต้นปลูกใหม่ในระยะแรก โรคใบจุดตากบก็จะทำความเสียหายกับใบรุนแรง จะพบใบที่เป็นโรคร่วง บ่อยครั้งที่พบต้นกาแฟ เป็นโรคใบจุดตากบภายใต้ร่มเงาที่ไม่เหมาะสม โรคนี้อาจพบได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในฤดูแล้ง

ลักษณะอาการของโรค

        ใบกาแฟจะเห็นจุดกลม ๆ ขนาด 3 - 15 มิลลิเมตร จะมีสีน้ำตาล ระยะเริ่มแรก ต่่อมาจุดนี้จะกลายเป็นสีเทาหรือเทาอ่อนไปกระทั่งถึงสีขาวตรง จุดกึ่งกลางของแผล ขอบแผลจะมีสีน้ำตาลแดง และจะล้อมรอบไว้โดย วงสีเหลือง ส่วนตรงกลางของแผลที่มีสีเทาจะเห็นจุดเล็ก ๆ สีดำกระจาย อยู่ทั่วไป จุดเล็ก ๆ เหล่านี้คือ กลุ่มของสปอร์และสปอร์ของเชื้อรา
       เชื้อราชนิดนี้สามารถทำให้เกิดโรคกับผลกาแฟได้ ทำให้ผลกาแฟ เน่ามีสีดำในระยะรุนแรงกาแฟจะมีสีดำ และเหี่ยวย่น ทำให้ผลร่วง ก่อนสุกในบางครั้ง
การป้องกันกำจัด

o แปลงกาแฟควรมีร่มเงาเพียงพอ ต้นกาแฟที่ปลูกใหม่ ควรมีร่มเงาชั่วคราวเพียงพอ หลีกเลี่ยงความรุนแรงของโรค

o การให้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ จะช่วยลดความ รุนแรงของโรคในระยะกล้าในแปลงเพาะและแปลงปลูกได้


วัชพืชและการป้องกันกำจัด

        วัชพืชที่พบทั่วไปในสวนกาแฟอาราบิก้า มีทั้งใบแคบและใบกว้าง ได้แก่ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าตีนกา หญ้าเห็บ หญ้านกสีชมพู กระดุมใบเล็ก สาบแร้งสาบกา ลำพาสี ผักปราบ หญ้ายาง ลูกใต้ใบ ตีนตุ๊กแก เป็นต้น
การกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ

  1. การใช้แรงงานและการใช้เครื่องจักรกลตัดวัชพืชระดับผิวดิน
การใช้แรงงานคนเหมาะสำหรับสภาพพื้นทีที่ไม่สามารถ ใช้เครื่องจักรกลได้สะดวก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการตัด หรือถากวัชพืชรอบบริเวณโคนต้นในสวนกาแฟที่ปลูกใหม่ เพราะระยะนี้ การใช้สารกำจัดวัชพืชจะเป็นอันตรายกับต้นกาแฟได้ง่าย และในฤดูแล้ง การกำจัดวัชพืชด้วย วิธีการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องกระทำ เพื่อลดการแก่งแย่งน้ำในดิน ระหว่างวัชพืชและต้นกาแฟ และใช้วัชพืช ดังกล่าวคลุมโคนต้นกาแฟ เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
   
   2. การปลูกพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดินนอกจากจะช่วยควบคุมวัชพืช เจริญเติบโตแข่งกับต้นกาแฟแล้ว ยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในกับดิน ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

   3. การปลูกพืชแซม
สามารถกระทำได้ในพื้นที่ปลูกกาแฟที่ค่อนข้างราบ หรือมีความลาดเอียงในทิศทางเดียวกัน พืชแซมที่นิยมปลูกในสวน กาแฟปลูกใหม่ เช่น พืชผัก ถั่วต่าง ๆ หรือไม้ตัดดอก แต่หลังจากต้นกาแฟ อายุมากขึ้น และให้ผลผลิตแล้วคงไม่สามารถกระทำได้ เพราะ ทรงพุ่มจะชิดกันมากขึ้น ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกพืชแซมได
  
  4. การใช้สารกำจัดวัชพืช
ใช้ได้ทั้งในสวนกาแฟขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ่โดยใช้ในอัตราที่ปรากฏข้างล่าง ผสมน้ำสะอาด 60-80 ลิตร/ไร่ ใช้หัวพ่นรูปพัด พ่นให้ทั่วต้นวัชพืช แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ ละอองสารปลิวไปสัมผัสใบและต้นกาแฟ
    
       สารกำจัดวัชพืช|อัตราที่ใช้(กรัมหรือซีซี/ไร่)|กำหนดการใช้|ชนิดวัชพืชที่ควบคุมได้ |



หมายเหตุ



            พาราควอท(27.6%AS)|300-800|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูงไม่เกิน 15 ซม.|วัชพืชปีเดียว ใบแคบและใบกว้าง|หลีกเลี่ยง สารกำจัดวัชพืชสัมผัสใบและต้นกาแฟที่มีสีเขียว

กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม(15 %SL) |330- 750|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอก|วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ
วัชพืชข้ามปีเช่นหญ้าคาใช้อัตราสูง|ระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 ช.ม.
ไกลโฟเลท(48%AS)|330-750|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญ
              เติบโตและก่อนออกดอก|วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืชข้ามปีเช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง|ระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 ช.ม.
กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม(15%S%L)+ไดยูรอน(80%WP)|1,800+ 300|พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูงไม่เกิน 15 ซม. วัชพืชปีเดียว ใบแคบและใบกว้างที่งอกจากเมล็ด|ไดยูรอนสามารถ
ควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชในดินได้ 1-2 เดือน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น