วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

แมลงและการป้องกันกำจัด


   
แมลงและการป้องกันกำจัด


                       

     
           เพลี้ยหอยสีเขียว(Green scale) Coccus viridis Green (Homoptera : Coccidae)
           เพลี้ยหอยสีเขียวเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุด ในกลุ่มแมลงปากดูด ขนาดเล็กด้วยกันทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เข้าทำลาย โดยการดูดกิน น้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน เป็นเหตุให้ยอดและใบหงิกงอผิดปกติ ใบร่วง ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต ถ้าระบาดขณะกาแฟกำลังติดผล ทำให้ผลอ่อนมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วง ผลผลิตเล็กลง ต้นกาแฟจะโทรมนาน นอกจากนี้ เพลี้ยหอยสีเขียวยังขับถ่ายน้ำหวาน (honey dew) ขึ้นคลุมผิวใบ เป็นผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงลดลง และทำให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด

       ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงประเภทดูดซึม โดยใช้คาร์โบ ซัลแฟน(พอสซ์ 20 % EC) ใช้ในอัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร




                                                                                                                                            หนอนเจาะลำต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Cherrolat (Coleoptera : Cerambycidae)

        
       หนอนเจาะลำต้นกาแฟเป็นแมลงที่มีความสำคัญ ที่ทำความเสียหาย ต่อต้นกาแฟอาราบิก้าอย่างรุนแรง พื้นที่ซึ่งพบการทำลายสูงสุดร้อยละ 95 และส่วนใหญ่เป็นกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งร้อยละ 80 ส่วนกาแฟที่ ปลูกในสภาพภายใต้ร่มเงา และปลูกในพื้นที่ระดับต่ำจะพบน้อย โดยเฉพาะ กาแฟที่มีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะต้นกาแฟ เข้าทำลายจะแสดงอาการใบเหลือง เหี่ยว และยืนต้นแห้งตายในที่สุด โดยจะพบร่องรอยการควั่นของหนอนเจาะลำต้นกาแฟตั้งแต่บริเวณโคนต้น ขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น ทั้งนี้เมื่อฟักออกจากไข่ ก็จะกัดกินเนื้อไม้ โดยควั่น ไปรอบต้นและเจาะเข้าไปกินภายใน

การป้องกันกำจัด

         ควรจะกระทำช่วงระยะที่เป็นตัวเต็มวัยก่อนผสมพันธุ์และวางไข ร่วมทั้งการทำลายไข่หรือหนอนระยะแรกที่ฟักออกจากไข่ ก่อนที่จะ เจาะเข้าไปในลำต้นหรือกิ่งจะเป็นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด เมื่อพบการระบาดควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เฟนิโตรไธออน (ซูมิไธออน 50 % EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงเดือนพฤษภาคม- กรกฎาคม และ พฤศจิกายน-มกราคม




หนอนกาแฟสีแดง Zeuzera coffeae Nietner (Lepidoptera : Cossidae)
      หนอนเจาะกินเนื้อเยื่อภายในลำต้นทำให้ยอดแห้งเหี่ยวตาย ตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกเจาะ และ เมื่อลมพัดก็ทำให้กิ่งหักล้ม ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาว มีจุดดำประเต็มปีก วางไข่บริเวณเปลือก ลำต้นหรือกิ่งกาแฟ ไข่สีเหลือง ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ประมาณ 300 - 500 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 7 - 10 วัน จึงฟักออก เป็นตัวหนอนแล้ว เจาะเข้าสู่กิ่งหรือลำต้น กัดกินเนื้อเยื่อเป็นโพรงเล็ก ๆ ตามความยาวของกิ่ง และลำต้นกาแฟ ขณะเดียวกันก็จะกัดกิ่งและลำต้นกาแฟเป็นรู เล็ก ๆ เพื่อเป็นช่องให้มูลของหนอนออกมา จากกิ่งและลำต้น ระยะหนอนประมาณ 2.5 - 5 เดือน ระยะดักแด้ 2-3 สัปดาห์ ในรอบปีหนึ่งจะพบประมาณ 2 ชั่วอายุขัย เมื่อพบร่อง รอยการทำลายให้ตัดกิ่งหรือต้นที่ถูกทำลายไปเผาทิ้ง

        การป้องกันกำจัด
       
             ทำลายพืชอาศัยอื่น ๆ ในบริเวณรอบ ๆ สวนกาแฟ เพื่อไม่ให้เป็น ที่อยู่อาศัยขยายพันธุ์รักษาบริเวณให้สะอาด และหมั่นตรวจดูตามต้นและกิ่งกาแฟอยู่เสมอหากพบรอยที่หนอนเจาะเข้าทำลายให้ ตัดกิ่ง นำไปเผาไฟ เพื่อลดการขยายพันธุ์ต่อไป ในพื้นที่ ๆ พบการระบาดสูงใช้สารเคมีฆ่าแมลงเฟนิโตร ไธออน อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำด้วยแปลงทาสีบริเวณลำต้นกาแฟให้ทั่ว (ถ้าใช้ฉีดพ่นใช้อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ) ในช่วงที่พบตัวเต็มวัยสูงในเดือนเมษายน มิถุนายน และกันยายน และกำจัดต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะลำต้นเข้าทำลาย ทันที เมื่อตรวจพบโดยการตัดแล้วเผาทิ้ง นอกจากนี้ควรปลูกไม้บังร่ม จะช่วยลดการเข้าทำลายของหนอนได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น